เกี่ยวกับเรา

เกี่ยวกับเรา

THE SATUN CHAMBER OF COMMERCE

วิสัยทัศน์หอการค้าจังหวัดสตูล

“ เป็นองค์กรหลักที่มีความรู้และเครือข่าย ในการสร้างโอกาสทางธุรกิจให้แก่ชาวสตูลอย่างยั่งยืน ”

พันธกิจหอการค้าจังหวัดสตูล

  • แบ่งปันองค์ความรู้ที่มีอยู่ต่อมวลสมาชิก
  • เพิ่มพูนทักษะและความสามารถทางการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ
  • สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ทั้งภายในและภายนอกภูมิภาค
  • ส่งเสริมธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

ประวัติหอการค้าจังหวัดสตูล

                   หอการค้าที่มีขึ้นแห่งแรกในโลก  คือ  หอการค้าที่เมืองมาแซลประเทศฝรั่งเศส  จัดตั้งเมื่อปลายคริสศตวรรษ  ที่ 14  ในระยะเริ่มแรกของการจัดตั้งยังไม่ค่อยได้รับความสนใจจากชาวเมืองมาแซล  เท่าใดนักแต่ต่อมาเมื่อบรรดาพ่อค้ามองเห็นผลประโยชน์ที่จะได้รับ  จึงได้ร่วมใจกันทำให้หอการค้าเมืองมาแซลเจริญรุ่งเรืองขึ้น  ต่อมาประเทศอังกฤษได้จัดตั้งหอการค้าขึ้น  ที่เมืองกลาสโกว์  ในปี  ค.ศ. 1783  หลังจากนั้นประเทศต่างๆ  ในยุโรปก็ได้จัดตั้งหอการค้าของตนขึ้นเช่นกันเกือบทั่วทั้งทวียุโรป  และได้ขยายออกไปทั่วโลก  จนในปัจจุบัน  มีหอการค้าอยู่ทั่วโลกจำนวนมากมาย

                   หอการค้าแห่งแรกในประเทศไทย  คือ  หอการค้าไทย  จัดตั้งขึ้นเนื่องจากเห็นตัวอย่างของหอการค้าในต่างประเทศว่าสามารถอำนวยความสะดวกให้กับพ่อค้านักธุรกิจได้  จึงรวมตัวและก่อตั้งเป็นหอการค้าจดทะเบียนเมื่อวันที่  8  มีนาคม  พ.ศ. 2476  หอการค้าไทยถือเป็นแหล่งรวมของบรรดาพ่อค้า  นักธุรกิจที่ประกอบ  วิสาหกิจในสาขาต่างๆ ภายในประเทศ  เป็นองค์กรกลางของพ่อค้าเพื่อพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของพ่อค้าด้วยกัน  ปัจจุบันหอการค้าไทยมีบทบาทกว้างขึ้นครอบคลุมการค้าทั้งในและต่างประเทศร่วมมือกับภาครัฐส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจและการค้าของประเทศ  ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน  ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับการพัฒนานโยบายเศรษฐกิจของประเทศ

                   หอการค้าจังหวัดเป็นศูนย์รวมของผู้ประกอบวิสาหกิจในจังหวัดนั้นๆ  ผู้จะเป็นสมาชิก  ต้องมีภูมิลำเนาในจังหวัดที่หอการค้าตั้งอยู่  แต่ละจังหวัดจะจัดตั้งหอการค้าได้เพียงจังหวัดละ 1 แห่ง  และหอการค้าทุกจังหวัดต้องเป็นสมาชิกหอการค้าไทย  ตามพระราชบัญญัติการ  พ.ศ.  2509

หอการค้าจังหวัดสตูล  ได้เริ่มจัดตั้งและจดทะเบียนตาม พ.ร.บ พ.ศ.2509  หอการค้า  เมื่อวันที่  5  กุมภาพันธ์  พ.ศ.2529  โดยมี  นายไกรสีห์  อังสุภานิช  เป็นผู้ก่อตั้ง  และดำรงตำแหน่งประธานหอการค้าคนแรกของหอการค้าจังหวัดสตูล  เดิมใช้สมาคมจงหัวจังหวัดสตูล  เป็นที่ตั้งของสำนักงาน  และต่อมาได้ย้ายสำนักงานมาอยู่ที่ 45/36 ถ.สตูลธานี ต.พิมาน อ.เมือง จ.สตูล และใช้สำนักงานนี้มาจนถึงปัจจุบัน

                   นับตั้งแต่หอการค้าจังหวัดสตูลได้เริ่มก่อตั้ง  เมื่อวันที่  5  กุมภาพันธ์  2529  จนปัจจุบัน  เป็นเวลากว่า  30  ปี  ได้ผ่านการบริหารจากผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีความเสียสละทั้งเวลาและ  กำลังทรัพย์  เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดสตูล ให้ประกอบวิสาหกิจได้อย่าง มีประสิทธิภาพ  ทั้งยังเป็นสถาบันขององค์กรภาคเอกชนที่มีบทบาทและอำนาจ  ในการเจรจาต่อรอง ทำความตกลงด้านการค้า  อันเป็นการรักษาประโยชน์ด้านการค้าร่วมกับจังหวัดตลอดจนเผยแพร่แลกเปลี่ยนทัศนะข้อมูลและข้อเสนอแนะต่างๆ  ในด้านเศรษฐกิจการค้าของจังหวัดให้ขยายวงกว้างครอบคลุมมากยิ่งขึ้น  ทั้งยังเป็นแหล่งรวมของทั้งพ่อค้านักธุรกิจที่จะเข้ามาแลกเปลี่ยนทัศนะและข้อมูลต่างๆ ก่อให้เกิดความสามัคคีและความเข้าใจอันดีต่อกันเกิดความสำนึกในคุณค่าของตนที่สังคม ลดความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวโดยการเสียสละให้กับส่วนรวม  ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งในการส่งเสริมความเจริญก้าวหน้า  ก่อให้เกิดความมั่นคงในชาติ 

บทบาทและกิจกรรมของหอการค้าจังหวัด

  1. บทบาทของหอการค้า

     1.1  บทบาทของหอการค้าจังหวัด

หอการค้าจังหวัดเป็นสถาบันนิติบุคคลตามกฎหมาย  (พ.ร.บ.หอการค้า พ.ศ. 2509)    ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจ    การแก้ไขปัญหา / อุปสรรค   ในการประกอบธุรกิจของสมาชิก   ซึ่งก็คือนักธุรกิจภายในจังหวัด      สามารถสร้างอำนาจในการเจรจาต่อรองทำความตกลงทางการค้า     อันเป็นการรักษาผลประโยชน์ทาง

การค้าร่วมกันของจังหวัด   ตลอดจนเผยแพร่และเปลี่ยนทัศนะในด้านเศรษฐกิจการค้าให้กว้างขวางยิ่งขึ้น หอการค้าจังหวัดสามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่สมาชิก   และประเทศชาติได้เป็นอย่างดีเพราะหอการค้า

จังหวัดมีสมาชิกที่ประกอบวิสาหกิจทุกสาขาอาชีพจากทุกอำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน ซึ่งถ้าสามารถ

รวบรวมข้อมูลสถิติ  ข้อเท็จจริง  ปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ   แล้วนำมาร่วมกันพิจารณาเพื่อหาทางช่วยเหลือแก้ไขและหาข้อยุติในอันที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันได้ นอกจากเป็นการอำนวยประโยชน์แก่สมาชิกแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นความเจริญก้าวหน้าให้แก่ ท้องถิ่นและจังหวัด อันจะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น

     1.2  บทบาทของหอการค้าต่างประเทศ

          บทบาทของหอการค้าต่างประเทศจะคล้ายคลึงกับหอการค้าจังหวัดแต่ขอบเขตของการประกอบวิสาหกิจ

จะอยู่ในระดับที่สูงขึ้น กล่าวคือ หอการค้าจังหวัดจะเป็นองค์กรที่มีบทบาทในระดับประเทศ เนื่องจากหอการค้าต่างประเทศ จะเป็นการรวมตัวของผู้ประกอบวิสาหกิจที่แบ่งแยกโดยสัญชาติ ซึ่งจะมีเพียงสัญชาติละหนึ่งหอการค้า

การดำเนินกิจการในอันที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่สมาชิก การสร้างอำนาจต่อรองทางการค้า หรือการตกลงทางการค้าต่างๆ จะมีผลในระดับประเทศซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้

บทบาทของหอการค้าโดยทั่วไปพอสรุปได้ดังนี้

  1. บทบาทต่อสมาชิก

     1.1   ส่งเสริมการขาย

-    มีการจัดแสดงสินค้า เช่น การเข้าร่วมในโครงการศิลปาชีพพิเศษ การจัดงานนิทรรศการทางการค้า

-    กำหนดและรับรองคุณภาพ และมาตรฐานของสินค้า ออกเอกสารหรือหนังสือรับรองทางการค้า

-    เข้าร่วมเป็นตัวแทนในการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้า และร่วมมือการค้ากับต่างประเทศ ตลอดจนจัดทำข้อตกลง

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

    1.2   พัฒนาระบบการบริหารและการตลาด

หอการค้าจะทำหน้าที่วิเคราะห์ วิจัย วางแผนขั้นตอนการบริหารธุรกิจ และโครงสร้างทางการตลาดเพื่อเสนอแนะ แนวทางการดำเนินธุรกิจให้สมาชิกหรือ วิเคราะห์ วิจัย เกี่ยวกับงานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับนโยบายของรัฐบาลเพื่อให้ข้อคิดเห็นแนะนำเสนอต่อรัฐบาลอันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสมาชิก  และสังคมโดยส่วนรวม

    1.3   แก้ไขปัญหาอุปสรรคให้แก่สมาชิก

ให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกในการแก้ไขปัญหาอุปสรรค   ข้อขัดข้องต่างๆ  ในการดำเนินงานของสมาชิก

-   ประสานงานให้กับสมาชิกและองค์กรภายนอกทั้งภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแนะนำแก้ไขหรือยกเลิกกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับต่างๆที่ไม่เป็นธรรมและเป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจ

-   เป็นตัวแทนของสมาชิกในการเสนอให้ออกกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับที่เป็นประโยชน์ในทางส่งเสริมการค้า และการประกอบอาชีพของส่วนรวมโดยผ่านทางคณะกรรมการที่รัฐจัดขึ้น

    1.4   ให้ข้อมูลข่าวสารทางการตลาด

เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ทั้งภายในและภายนอกประเทศทั้งทางด้านการตลาดแหล่งวัตถุดิบการร่วมลงทุน  ตลอดจนความเคลื่อนไหวของราคาสินค้าวัตถุดิบ ภาวะการเงินการคลังของประเทศ และแนวโน้มทางเศรษฐกิจโดยทั่วไปช่วยให้สมาชิกเป็นผู้มีหูมีตากว้างไกล   รอบรู้ถึงความเคลื่อนไหวของภาวะการค้า การตลาดอีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์ และความเข้าใจอันดีต่อกัน โดยเฉพาะการประสานงานระหว่างหอการค้ากับหน่วยงานของรัฐบาล

    1.5   ให้ความช่วยเหลือสมาชิกในด้านอื่นๆ

เป็นที่พึ่งพิงของสมาชิกทางด้านการเงิน    การตลาด    ให้คำปรึกษาและความรู้ทางวิชาการ  เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทันสมัย

  1. บทบาทต่อส่วนรวม

     2.1   ระดับท้องถิ่น

        หอการค้าที่มีบทบาทเป็นอย่างมากในระดับท้องถิ่นก็คือ  หอการค้าจังหวัดซึ่งเป็นศูนย์รวมของ ผู้ประกอบวิสาหกิจ   หรือนักธุรกิจเอกชนในจังหวัดนั้นๆ  ดำเนินการในรูปสถาบันมีสภาพเป็นนิติบุคคลที่สามารถระดมทรัพยากรบุคคล  เครื่องมือ มาตรการต่างๆ พร้อมทั้งประสานงานเกี่ยวกับส่วนกลางเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาอุปสรรค

ในท้องถิ่นรวมทั้งรักษาผลประโยชน์ของประชาชน  ในท้องถิ่นด้วยเป็นสถาบันเอกชนที่เป็นพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ  โดยเฉพาะการกระจายรายได้   และการยกฐานะความเป็นอยู่ของประชาชน

     2.2   ระดับประเทศ

        นอกจากหอการค้าต่างประเทศที่จะมีบทบาทในระดับประเทศแล้ว     หอการค้าจังหวัดที่สามารถ

เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนา   หรือแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของภาครัฐบาลได้โดยเสนอโครงการทางเศรษฐกิจต่างๆ   ที่จะทำให้จังหวัดหรือท้องถิ่นของตนเองมีความเจริญก้าวหน้า    หรือเสนอแนะทางการแก้ไขปัญหาต่างๆภายในจังหวัด หรือท้องถิ่นผ่านทาง      กรอ.  จังหวัดเพื่อพิจารณาหาทางดำเนินการให้สำเร็จลุล่วงไป    เมื่อท้องถิ่นหรือจังหวัดมีความเจริญก้าวหน้า ย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยส่วนรวมด้วย

นอกจากนี้ยังมีหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  ซึ่งเป็นสถาบันทางการค้าขั้นสูง ที่เชื่อมโยงหอการค้าทุกจังหวัด   (โดยหอการค้าไทยเป็นสมาชิกสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย    และหอการค้าจังหวัด เป็นสมาชิกของหอการค้าไทย)  ทำให้สามารถนำเรื่องราวปัญหาอุปสรรคระดับท้องถิ่นมาแก้ไขในระดับประเทศได้

  1. กิจกรรมของหอการค้าในปัจจุบัน

จากบทบาทของหอการค้าสามารถชี้หรือแสดงให้เห็นว่า กิจกรรมของหอการค้าน่าจะออกมาในรูปแบบ

ใดบ้างซึ่งจากผลการตรวจสอบสถานภาพของหอการค้าทั่วประเทศสามารถสรุปกิจกรรมของหอการค้าได้ดังนี้

  3.1   กิจกรรมของหอการค้าจังหวัด

         3.1.1   ส่งเสริมและให้ความช่วยเหลือการประกอบธุรกิจของสมาชิก  เช่น

            -   เผยแพร่ข้อมูลสถิติข่าวสารทางเศรษฐกิจการค้า  และข่าวสารของทางราชการ           

  -  ประสานงานหรือให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับการติดต่อธุรกิจทางการค้า และการติดต่อกับทางราชการให้ได้  รับความสะดวกขึ้น

            -  ให้ความช่วยเหลือในด้านการผลิต การตลาด การจัดหาวัตถุดิบ ตลอดจนการรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า

           -  แก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในการดำเนินงาน ตลอดจนไกล่เกลี่ย และประสานประโยชน์ทางการค้า

        3.1.2   พัฒนาเศรษฐกิจและสภาพสังคมในจังหวัด  เช่น

ประสานงานกับจังหวัดพิจารณาปัญหาแนวทางการแก้ไข     รวมทั้งแนวทางการพัฒนาจังหวัด   โดยเฉพาะ ทางด้านสาธารณูปโภค  หรือโครงการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ  เช่น   การขยายเส้นทางเดินรถไฟ  การขยาย ถนน   การขุดลอกอ่างเก็บน้ำชลประทาน   การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม  การจัดตั้งตลาดกลางสินค้าเกษตร   การจัดตั้ง ตลาดกลางสัตว์น้ำอาเชี่ยน

          -  ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพหัตถกรรมพื้นบ้าน เช่น การทอผ้าไหม   การทอผ้าพื้นเมือง การจักสาน  ตลอดจนอุสาหกรรมขนาดย่อมโดยใช้วัตถุดิบและแรงงานภายในจังหวัด

-  ร่วมกับภาครัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  จัดงานแสดงสินค้าหรืองานประจำปี   เพื่อเผยแพร่หรือแสดง สินค้าสำคัญของจังหวัด  เช่น  จัดงานเทศกาลมังคุดหวานของดีเมืองนคร งานเทศกาลหมูย่างเมืองตรัง งานของดีเมืองสระบุรี  เป็นต้น

เข้าร่วมกับภาครัฐบาลในการแก้ไขปัญหาพืชผลทางการเกษตร   เช่น   การแก้ไขปัญหาราคาหอมแดงตกต่ำ ของหอการค้าจังหวัดศรีสะเกษ   การแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตร  (หน่อไม้ไผ่ตง)  ของหอการค้าจังหวัดตาก

      3.1.3  รักษาผลประโยชน์ของประชาชนในจังหวัด โดยเข้าเป็นคณะกรรมการร่วมกับภาครัฐบาล

ในรูปของคณะกรรมการ  เช่น  คณะกรรมการพิทักษ์แหล่งน้ำ   ป่าไม้   โบราณสถาน   หรือประสานงานกับภาครัฐบาล ในโครงการสินค้าธงฟ้าราคาประหยัดเพื่อลดภาระค่าครองชีพของประชาชนในจังหวัดเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจทางด้านการค้า การตลาด หรืออื่นๆ แก่สมาชิกและบุคคล

ทั่วไป    

    3.1.5   ส่งเสริมและสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างภาคเอกชน  และภาครัฐบาลทั้งในส่วนกลาง  ส่วนภูมิภาค โดยได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรหรือไปเป็นเกียรติในงานพิธีต่างๆ  ถึงแม้ว่าการดำเนินกิจกรรมของหอการค้าจังหวัดในแต่ละจังหวัด   จะมีมากบ้างน้อยบ้างอันเป็นผลเนื่องมาจาก       ความแตกต่างทางสภาพทางภูมิศาสตร์แหล่งท่องเที่ยว   ความพร้อมหรือความเจริญทางเศรษฐกิจ   และสังคมของท้องถิ่นในแต่ละจังหวัด    แต่อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ คือ   ความตั้งใจและความร่วมมือ   ร่วมใจ    หอการค้าจังหวัดนั้นก็จะมีกิจกรรมมากขึ้นยิ่งกิจกรรมนั้นเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม   หอการค้าจังหวัดนั้นๆ  ก็จะได้การยอมรับจากสมาชิกและบุคคลในวงการต่างๆ   ในที่สุดหอการค้าก็จะประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ อันจะเป็นหนทางนำไปสู่ความมีประสิทธิภาพ ของหอการค้านั้นๆ

3.2   กิจกรรมของหอการค้าต่างประเทศ

          จากผลการตรวจสอบฯ   กิจกรรมของหอการค้าต่างประเทศส่วนใหญ่จะเป็นการส่งเสริม   และให้

ความช่วยเหลือการประกอบธุรกิจของสมาชิก    เช่น    เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางเศรษฐกิจการค้าจัดอบรมสัมมนาให้ ความรู้แก่สมาชิก     และระดมความคิดเพื่อให้ข้อเสนอแนะทางเศรษฐกิจต่างๆ     นอกจากนี้จะเป็นการส่งเสริมความ สัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน      และระหว่างเอกชนกับรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ  เช่น  การเข้าร่วมประชุมกับหอการค้าต่างประเทศอื่นๆ ในประเทศไทย การเข้าร่วมประชุมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  และการเข้าร่วมประชุมกับหน่วยงานต่างๆของภาครัฐบาลเหล่านี้เป็นต้น

3.3   กิจกรรมของหอการค้าไทย

เนื่องจากหอการค้าไทยอยู่ในฐานะหอการค้าประจำจังหวัดกรุงเทพมหานคร และอยู่ในฐานะหอการค้า

ประจำประเทศไทยด้วย ดังนั้นกิจกรรมจะมีทั้งกิจกรรมภายในประเทศและกิจกรรมภายนอกประเทศซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

    3.3.1   กิจกรรมภายในประเทศไทย

  1. ส่งเสริมธุรกิจการค้าของเอกชนเป็นการให้ความช่วยเหลือประสานงาน และระดมความร่วมมือกับองค์กร ธุรกิจเอกชนที่เป็นสมาชิกและธุรกิจอื่นๆ เช่น ให้บริการทางวิชาการออกหนังสือรับรองเอกสารด้านการพาณิชย์ต่างประเทศ จัดลำดับผู้ส่งออกและมีคณะกรรมการ  สนับสนุนสาขาเฉพาะอาชีพในสาขาต่างๆส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน  และระหว่างเอกชนกับภาครัฐบาลใน  การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เช่น  การเข้าร่วมอยู่ในคณะกรรมการภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)  คือ หอการค้าไทย  สภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทย ในการประสานงานกับภาครัฐบาลและเป็นสื่อกลางติดต่อเจรจา หรือจัด ประชุมธุรกิจทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งมีกิจกรรมร่วมกับคณะกรรมการ  กรอ. ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
  2.    พัฒนาหอการค้าจังหวัด  ให้เป็นที่ยอมรับในฐานะที่เป็นแกนกลางของสถาบันธุรกิจเอกชน  ในระดับ ภูมิภาค กิจกรรมที่สำคัญ  คือ
  3. จัดอบรมประชุมสัมมนาหอการค้าจังหวัด เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของผู้บริหารและเลขานุการ หอการค้าจังหวัด ตลอดจนจัดสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศเพื่อระดมความคิด   ให้ข้อเสนอแนะทางเศรษฐกิจ   อีกทั้งยังเป็นการ   เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างหอการค้าไทยกับหอการค้าจังหวัด
  4. จัดทำและเผยแพร่ข้อมูลเศรษฐกิจของจังหวัด และข่าวสารของหอการค้าจังหวัด เป็นข้อมูล อ้างอิงและก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ประกอบการโดยทั่วไป   ทำให้ผู้ประกอบการต่าง ๆ  สามารถรับรู้ความเคลื่อนไหว ของหอการค้าต่าง ๆ
  5. สนับสนุนบทบาทของหอการค้าจังหวัด เช่น  การจัดทำบัตรสมาชิกหอการค้าจังหวัดทั่วประเทศ    การติดต่อราชการแทนธุรกิจเอกชน การประกวดหอการค้าดีเด่น   และโครงการจัดงานแสดงสินค้าต่าง ๆ
  6. ติดตามข้อร้องเรียนของหอการค้าจังหวัด ทั้งเป็นปัญหาของหอการค้าจังหวัดบางส่วน   และเกี่ยว ข้องกับหอการค้าไทยด้วย   โดยรับเรื่องราวและประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง                                       

     3.3.2   กิจกรรมภายนอกประเทศ

  1. จัดประชุมเพื่อความร่วมมือความสัมพันธ์การค้าต่างประเทศ ภายในทวีปเอเชีย ( ASEAN CCI )

และกับประเทศคู่เจรจาที่  3  ในเรื่องต่าง ๆ  อาทิ  อาหาร เกษตรกรรม ป่าไม้ และอุตสาหกรรม

  1. ต้อนรับผู้แทนทางการค้าจากสถาบันหรือองค์กรต่างประเทศ หรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอัน

เป็นแนวทางในการทำธุรกิจร่วมกันในโอกาสต่อไป

  1. ให้บริการข้อมูลทางการค้า และจัดทำหนังสือ    Chamber   Of    Commerce  Handbook   สร้างความสามารถในการทำธุรกิจร่วมกัน  และเผยแพร่นักธุรกิจของประเทศไทยในต่างประเทศ
  2. ไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางด้านการค้า ทั้งผู้ร้องเรียนที่เป็นคู่กรณีจากต่างประเทศ
  3. ดำเนินงานตามโครงการช่วยเหลือจากรัฐบาลต่างประเทศทั้งงานที่ต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา และที่ทำขึ้นในระหว่างปี

3.4   กิจกรรมของสภาหอการค้าแห่งประเทศ

       เนื่องจากเป็นสถาบันการค้าสูงสุดของเอกชน      มีบทบาทครอบคลุมทางการค้าทั้งในประเทศ และต่างประเทศ    โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในระดับชาติ   จึงเข้าไปมีบทบาทในรูปของคณะกรรมการต่าง ๆ   ของภาครัฐบาล     เสนอทัศนะเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจทั้งการค้าในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนให้ความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินงานของกระทรวงทบวงกรมต่าง ๆ ทางด้านการค้าการตลาด  ซึ่งพอจะสรุปกิจกรรมหลัก ๆ ได้ดังนี้

           3.4.1   ร่วมมือกับภาครัฐบาลเพื่อส่งเสริม    และพัฒนาเศรษฐกิจและการค้าของประเทศ   โดยความร่วมมือของหอการค้าและสมาคมการค้า    ประสานความร่วมมือกับภาครัฐบาลอย่างใกล้ชิดในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ อุปสรรคทางการค้าทั้งภายในและภายนอกประเทศ ดูและการออกหนังสือรับรองมาตรฐานสินค้า  ออกการระงับข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศโดยวิธีอนุญาตตุลาการ  การแสวงหาและขยายตลาดต่างประเทศ  การเสนอข้อคิดเห็น   และข้อเสนอแนะต่อภาครัฐบาลเกี่ยวกับการพัฒนานโยบายและกฎหมาย

สนับสนุนการประกอบการของเอกชน และการดำเนินธุรกิจของสมาชิก  โดยให้บริการข้อมูลข่าวสารการค้าและการตลาด   ข่าวสารความก้าวหน้าทางวิชาการ    ศึกษาวิเคราะห์   วิจัย    รายงานภาวะ และปัญหาเศรษฐกิจการค้า  ทั้งภายในและภายนอกประเทศ  แนะนำและส่งเสริมการติดต่อการค้าการลงทุน  และการหาตลาดในต่างประเทศ  การแสดงและเผยแพร่สินค้า การพัฒนาประสิทธิภาพการประกอบธุรกิจและการตลาด การบรรยายและประชุมสัมมนาทางเศรษฐกิจ  การค้าและกฎหมาย  เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ

ประสานความร่วมมือกับองค์กรเอกชนต่างประเทศ   เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทางการค้า  การลงทุนและเทคโนโลยี  จัดให้มีความตกลงร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจเอกชนของต่างประเทศ อำนวย ความสะดวกในการแลกเปลี่ยนผู้แทนทางการค้า   จัดและเข้าร่วมงานแสดงสินค้า      แลกเปลี่ยนเอกสารและข่าวสาร เกี่ยวกับนโยบาย  เศรษฐกิจทางการค้า  ระเบียบการนำเข้าและส่งออก  ภาวะการค้าและการลงทุนข่าวสารทางเทคนิค   วิชาการด้านการจัดการ   และการตลาด  จัดประชุมความร่วมมือทางการค้า    และเศรษฐกิจเพื่อหาทางแก้ไขอุปสรรค ทางการค้าและเพื่อขยายความร่วมมือทางการค้า  และการลงทุนระหว่างกัน 

 

 

 

 

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์